หน้าแรก เว็บบอร์ด


สั่งพิมพ์

Thailand lobot fighting

Thailand lobot fighting

การแข่งขัน(กติกาอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม) ข้อบังคับ ขนาดและข้อกำหนดหุ่นยนต์ที่เข้าแข่งขัน รายละเอียดและข้อจำกัดการสร้างหุ่น                                                                                                                        
1.น้ำหนักรวมหุ่นขณะ พร้อมทำการแข่งขันต้อง ไม่เกิน 20 กิโลกรัม
2.ขนาดหุ่น กว้าง ไม่เกิน 0.50 เมตร ยาว ไม่เกิน 1.00เมตร สูง ไม่เกิน 1.00 เมตร
3.แหล่งจ่ายพลังงานงาน ใช้ มอเตอร์ ที่ใช้พลังงานแบตเตอรี่ ไม่อนุญาต ให้ใช้เครื่องยนต์ ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
4.หุ่นยนต์สามารถ แยกตัวลูกออกมาช่วยต่อสู้แบบอิสระได้ แต่นน. รวม ต้องไม่เกิน 25 กก โดยที่หุ่นหลัก ต้อง น้ำหนักไม่เกิน 20 กก.
5.ระบบการควบคุม ใช้วิทยุบังคับ ไม่จ้ากัด คลื่นความถี่
6.การควบคุมหุ่นยนต์ ใช้ผู้บังคับ พร้อมกันได้ไม่เกิน 2 คน
7.ในกรณีที่ สร้างหุ่นที่ใช้ระบบขับเคลื่อน เป็น ขาเดิน ไม่จำกัดขา หรือระบบไฮดรอลิก หรือระบบนิวเมตริก และอนุโลม ให้น้ำหนัก ได้ไม่เกิน 25 กก.
8.เขียนแบบ และ ส่งแบบ ให้ คณะกรรมการตวจก่อนทำการสร้าง หุ่น
ข้อบังคับ ข้อห้าม ของ การสร้าง หุ่นยนต์
1.วัสดุ ในการสร้าง ไม่จ้ากัด ชนิด โลหะ แต่ไม่ควรใช้วัสดุที่ติดไฟง่าย ห้ามใช้ โฟมในการสร้าง
2. การติดตั้งแบตเตอรี่ ต้องท้าห้อง เก็บแบตเตอรี่ โดยเฉพาะ ที่ทนต่อการ ทุบท้าลาย เนื่องจากอาจเกิดการระเบิดของแบตเตอรี่ได้
3.ต้องมีการติดตั้ง safety switch ที่ ปิดเปิดได้ ง่าย จากภายนอก
4.ระบบนิวเมติก (หากมี) - ระบบนิวเมติกที่สามารถติดไฟได้ทุกชนิด ไม่อนุญาติให้ใช้ - ถังจุแรงดันและระบบปรับแรงดันสูงสุดได้ไม่เกิน 200 psi (หากต้องการจะใช้เกินที่กำหนด คุณจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในส่วนความปลอดภัย) - อุปกรณ์นิวเมติกจะต้องเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐาน สากลเท่านั้น
5.ระบบไฮดรอลิค (หากมี)
- ระบบแรงดันสูงสุดได้ไม่เกิน 300 psi (หากต้องการจะใช้เกินที่กำหนด คุณจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญที่และมีประสบการณ์ในส่วนความปลอดภัย) - ของเหลวที่ใช้ในระบบไฮดรอลิคจะต้องเป็นชนิดไม่ติดไฟ ไม่กัดกร่อน มีความเป็นพิษต่ำ และมีการระบุแรงดันสูงสุดไว้ชัดเจน - ถังเก็บแรงดันจะต้องถูกป้องกันอย่างดีอยู่ภายในตัวหุ่น - อุปกรณ์ไฮดรอลิคจะต้องเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐาน สากล เท่านั้น
6.อาวุธยิงวิถีโค้ง (ที่ไม่มีส่วนผสมของระเบิด) สามารถใช้ได้ สามารถใช้ตาข่าย เชือก ได้
7.อาวุธต้องห้ามที่ไม่สามารถน้ามาใช้ได้ - อาวุธอันตรายร้ายแรง เช่น ระเบิด, ปืน, เลเซอร์, ปืนน้ำแรงดันสูง - น้ำและของเหลวทุกชนิด -EMP ที่สร้างความเสียหายแก่วงจร Electronic ของคู่ต่อสู้ - อาวุธเพลิงทุกชนิด - การยิงปืนกาว - อาวุธควัน ที่จะท้าให้เครื่องดักจับควันของสนามแข่งท้างาน - อาวุธที่มีสารพิษทุกชนิด - อาวุธที่ใช้สารกัมตภาพรังสี - อาวุธที่สามารถสร้างความเสียหายแก่สนามการแข่งขัน อื่นๆ หากไม่แน่ใจ กรุณาเช็คกับคณะ กรรมการก่อนติดตั้งอาวุธ
8. การป้องกันโจมตี หุ่นของคุณจะต้องสามารถป้องกันการโจมตีด้วยแรงแทกอย่างดี โดยไม่สร้างความเสียหายให้แก่ตัวหุ่น
9. การเปิดและปิดหุ่น - การเปิดและปิดหุ่นจะต้องกระท้าผ่านรีโมทคอนโทรลหรือ Switch ที่ตัวหุ่น - การเปิดและปิดหุ่นจะต้องใช้เวลาอย่างมากที่สุดไม่เกิน 30 วินาที - หากไม่มีสัญญาณจากรีโมท หุ่นและอาวุธจะต้องถูกปิดการท้างานได้โดยอัตโนมัติ  
10. ความปลอดภัย -หุ่นจะต้องติดตั้ง Master kill switch ไว้ภายนอกตัวหุ่นที่ง่ายต่อการเข้าถึง ในกรณีฉุกเฉินสามารถกดปุ่มนี้โดยไม่ต้องยกหุ่นขึ้นหรือถอดกันชนออก - ปุ่ม Master kill switch นี้จะต้องติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่การโจมตีไม่สามารถเข้าถึงโดยง่าย หรือมีอุปกรณ์ป้องกัน หากในการแข่งขัน คู่ต่อสู้สามารถเข้าถึงปุ่มนี้ได้จะถือเป็นการ Knock out อย่างหนึ่ง - ปุ่ม Master kill switch จะต้องหยุดการท้างานทุกอย่างของหุ่นในทันที
-กรณีเกิดเพลิงไหม้ที่ตัวหุ่น ทีมดับไฟจะเข้าไปท้าการดับไฟในสนาม แต่หากอาวุธยังเปิดอยู่และไม่สามารถควบคุมอาวุธให้หยุดได้ อุปกรณ์ดับเพลิงจะถูกฉีดเข้ามาภายนอกสนามการแข่งขัน ซึ่ง ถ้าการดับเพลิงนั้นท้าให้หุ่นเสียหาย ผู้เข้าแข่งขัน ต้องยอมรับได้
1. การตรวจสอบหุ่นก่อน ทำการแข่งขัน
สถานี 1 ชั่งน้ำหนัก วัดขนาด ตรวจเช็ควัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
สถานี 2 ตรวจระบบควบคุมระยะไกลด้วยรีโมทคอนโทรล
หมายเหตุ: ถ้า ไม่ผ่าน ให้ ท้าการแก้ไขและ เข้าตรวจใหม่
กติกาการแข่งขัน การต่อสู้ตัวต่อตัว แพ้ตกรอบ แบ่งสาย โดยการจับฉลากและ ตามที่กรรมการ
เห็นสมควร วิธีการแข่งขัน: ต่อสู้ตัวต่อตัว ในเวลายกละ 3 นาที พัก 3 นาที จ้านวน 2 ยก (สามารถซ่อมหุ่นได้) โดยผลแพ้ชนะจะขึ้นอยู่กับ
1. Knockout คู่ต่อสู้ภายในเวลาที่กำหนด (คู่ต่อสู้ไม่สามารถเคลื่อนที่ภายในเวลานับ 10 วินาที)
2. ในกรณีที่หุ่นมีโอกาสที่จะถูกท้าลาย ผู้เข้าแข่งขันสามารถยกธงขาวเพื่อยอมแพ้ได้
3. กรณีไม่สามารถ Knockout ภายในเวลาที่กำหนด กรรมการ 3 ท่านจะเป็นผู้ตัดสิน โดยแบ่งหมวดดังนี้
- หมวดการโจมตี หุ่น A หุ่น B
- หมวดความเสียหายของหุ่น หุ่น A หุ่น B
- หมวดการวางแผนการรบ หุ่น A หุ่น B
รูปแบบสนามแข่งรอบทัวร์นาเม้นท์: สนามขนาด 7 *7 เมตร พื้นเป็นเหล็กความหนา 3 mm.
อุปสรรคในสนามแข่ง: เลื่อย ของ สนาม ที่ติดตั้งอยู่ 4 จุด

วิธีการสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน
คุณสมบัติ  
-ผู้เข้าแข่งขันต้องมีอายุ 13 ปีขึ้นไป
-มีสมาชิกไม่เกิน 10 คนต่อทีม

กำหนดระยะเวลา  
-เปิดรับสมัครแล้ววันนี้ – 25 กุมภาพันธ์ 2559
-เปิดศึกแข่งขันวันที่ 3 - 6 มีนาคม 2559 ในงาน Thailand Industrial Fair 2016 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมแห่งชาติ ไบเทค (บางนา)

วิธีส่งใบสมัคร
1. ตึกช้าง (รัชโยธิน) ชั้น 21 โซนบี ณ เคาร์เตอร์ประชาสัมพันธ์
2. Fax: 0 2967 9900
3. Scan ส่ง E-mail มาที่
- [email protected]  
[email protected]

ติดต่อสอบถาม  
-เคาน์เตอร์บริการลูกค้า  
-โทร 0 2967 9999 ต่อ 1800
-www.facebook.com/thailandindustrialfair.com
-ดูข้อมูลเพิ่มเติม และสมัครได้ที่ http://www.thailandindustrialfair.com
ไฟลล์แนบ: ระดับของกลุ่มสมาชิกนี้ไม่สามารถมองเห็นไฟลล์แนบได้

TOP