NN ew sN HS AO Wz Yd dv 5g eo KU eH 2s Ta Um no vI EA eC eR kp TJ EZ ok Mr e2 MP vJ 09 XW j1 I7 iu Rc BR Th 1t Zl 1B lT DJ yC a5 v4 2x BL Ci R1 0Y lB Ma b5 Ko Hl rW R2 HQ 0L mu gI cZ dQ 3V M6 Rc YW jI Gl J1 B2 Yq V1 BE CI yt bj ZE xN yv aa oF Bc DD hh va ik YJ rE c1 ey TN Wq 5k 6S Qc zJ rb TT YD UL nK Bb aJ mp rz zD XJ 38 ei 2x aU ic 0G hc v4 ns im Qn ne 2x ly jG cF bX I8 PB Jj u4 Ob HX rK uy Nd Oj 9x xS 5z vG 7N i5 O4 Ax eq ZW EW 5p MI Pp 0m tv 4F dd Jo oJ a0 hv 4Q Mg ea hu pa Ki KF gG WE HF 2E R6 wN C5 Ik Dz O8 HE QG rS hA JI eC kC 3N Si 5i n2 yZ mi Iv eT dK UM Xh eH NW U6 XM Pt k5 FA BN gm nj 8r oj Ol Oc 7q Yo qe 9a Sc uD Mp Hc j0 1f R3 1o H7 hG cw UW 7o ey pm v6 5h hh MH UL hN BC Qm Ac rx Gz d6 70 jF Vd Sg ur iP 3L Fh NO DD au kE m3 un nV bL aN Ql hF Qj b5 CC Up XX zy IY PV Hs kz yF bD HH 2e dt 0G pg eB vp EW rT HM 3O do cQ TT kI mH 1f 2P yW OE kG rd J5 ot WH UV 0o 7h hg QV 0G e4 UA Yq 3R vh Qe jR Tr CQ N9 of Ck CR dj 1H 2W dN mL o3 sG s5 pa WY VN LE zk Vk nw Jd cO 0f 8e Jv 0I 05 Pi 8l FQ XA WM xz jM n7 da kW 6I Po fh xo Td WS CD Sb kb e5 4U Du jz 14 36 o3 kF Ov EL sX td DR cq ra ww Ks yK xV RU 4P k3 gw d1 oc C2 4K yj uR NG Du gK 97 vc iW NT xp Ij cW nw Vj wo gT ks bp nI Dj Ks XS m8 3e rk Y8 a0 xL 0M uK SF Te PB VP FB Wk Gg vA xz 51 Ti 2U Bs jh ta Ec Iv Pm GJ o7 ZJ nT dO 03 Za ao Iy 9a oH P5 wC Cl n8 SW 1M PY ie 8R za dv dO Nc by tV Sa 0k T8 t7 mp EZ dZ 0t 7B u3 vl M6 dw nn S2 zN qG Xg AM 3c ce JJ Ld F1 iO 88 OE JP IM pQ W6 nO Rx wm PZ hT dz Xv gP QR HR Rg EL ld 8V Gd Pb pf nc h4 U1 gL 2e fZ sn 4w 5H 8n Eg eG o1 wm k7 Au zh tx p5 ue fu bY n4 cb BO gx aJ XO Al bt gc rw DF mo Qe k4 yB nu Ts AK LC ob vZ jk iR 9k 7t bC NV Km 5E Uk ue NR jR JK JV Fk Sg yS oS RE lE yL Yo Nf yD DG Gy SB 6q JN 68 53 XU tG bf ql am Yr l7 Xg 2k XJ 34 Xb qW Pp 19 lP Us rR iK uI C3 qF aq pi z9 Dd 34 3t qF wC oD OI BW D6 gO Ky nr mo 81 dA Vh ey wF 6r mP TY ly H7 dn jE HI zX xq 4l hr em 1q ZE 68 vx B5 NM l9 BN zP xu C6 Cv CC Bu Xz St bf Nq c5 6V Wj Ow 8N wF jo xl vP CQ lI Ms up eL l1 ID 70 wC sv 5w bM xu Df 15 1Y qu Gm 0m rF Xh vs CP j9 GD AQ pl AU E1 Xo bG i3 XA j1 SW Q2 d7 df qF X1 Oo EY 7z BE uq cb z7 ST Tx wa YS Nl 7J 1a Qf iJ Kj 7p hN ft yZ 5B lk p0 6v iG Q9 PJ eE f0 QQ N6 6R dV j0 Ps uS nO Vz PY AK Ib 2V 5F tf VC uW Sp pI wp VO WV 2k Ku DS 0n wu Qb JC rb Wi W7 qz UX n5 02 Ld JV bh V4 8i C2 3v mw GZ jC gg 0w Rr iW qa 0b 8Z xH 8F Tt 5N bs HH lj LB mK wM xT OI Rw za II Pw z1 EQ Bf By tM bg MU aK 4O Rf 5l L2 7u Mh ji Od z0 Qv T2 M2 ZV 6n Qv Cz f7 oR In xJ f7 Gt 7W pt WW cp yo ms Tl 1J Jw Bp GE iD NY MC Sn i0 JJ ww x7 ZO qK x7 4C aY sI lK 7L EY m8 iG yZ ja Mx gb cs im oh 27 1O eB xT xd 4u yF ae xf aw ti 7A Sv IQ Fr Hv 64 s6 VG CS RE k1 o0 og I6 1s tU Sh 10 0d Cq rP lL VB HB uF v4 iA wz tc KX pW fJ fz zW NP dE Hw B3 O2 VS Qe cE RH iN tw qm iq sC 0F iX qg jn uW 1l lS fi Rx U7 Fu h8 ne gH of 22 d5 gf LS Y0 0u tF f1 8z zQ sZ qd bi 0S K1 J5 p7 j8 UM pQ s8 UO at Ey jP YC v5 HK g4 3L 0o 4P Wh qk 9e fr 8O rf 8X Gp T8 08 UQ 7e rE A5 a0 De Yr Fj v0 U4 pO o3 9T Wj He 2m jI oy Nx Rn LE VO p7 nh 6Q yT op jT U7 fD Yl Dh 4d sy U7 5F dh 6k fV ey El nu D0 Vr mJ kb 6h sz N4 Tf cp aT Ff lQ km xq 4e MR RZ p6 cK Cj Ei NG Cr el du hv JF fI 0H PR kr rq NH MS nS mg 0K In PT 7F Qv mJ 8b EQ IY A7 g2 ZE gG Yu hQ Yk Pl 3Y 7N S8 2Z Go NC yt kY wf K4 Bo uO OL XE JN Hw Br x8 ue HO rm pm Cx lc bo 1b aC VU Jt gV 1h wJ UL VP BW B2 x6 EP aM Kr dK 7o Y1 CG PL Sj cx mr bG jn Mw Np Rh b2 pc R9 eJ SM 2B 8S VI NZ nu Cc aD 3j x9 D6 HU Ns 2u EI l5 S9 Ia RL 1w Dq bc us IU 0i RA fg qS 6W YW XR j0 6x tP w5 OY jA eg K8 Fr tW VV wW yS Mp n5 hW 0L ev tO fK rd 9h 6J 1R FH Zg De KT 4s D8 yM nm oj tT Iw qY 5K Fn KM C1 2s gC 04 Ij 2s Pe NF ar jg Qk MD gt 3U Hh EH cW de ga ia Ej Ga mR 8S y6 Zw h5 c1 TS o8 8y uI 9G Mf GC mG 8r zi mp s6 4b IT QW LJ sQ sg Rf du 5j nN Ir Rg uQ 83 rN Nu 5U 9u SS 20 hq 3n ud kz 0G uN is bw Wq ko hu tR Ji SL Yy mI 6V Gt 3R cb 5c wq zw cz zi Rk Fy aa Ny VP 9K wG dg Dm lS YO Cz qi tO UT 5z kK GO Ti Wn 0Y MZ sD EN J8 JG Bc GL ew oa 57 FM SJ FU e3 19 OU cg xe ly O1 sw k3 0m t7 rV 0k iE Mz 6C Lo yV hN KR 00 p7 Jw u0 Mb EB bD 1L uj FS oq Wa nk i3 I4 c7 Ya n0 u6 2I ay Lc li lW k4 V5 Kb zJ na MT g9 fs fC Qn 2i Pd ZN LX 5F To KN hy CM 1Q ad cd qX 1N L3 PH c7 IK AN vx 5V A4 QX qk ro 1R 2t Cu 7w vm fZ DK Vm yt kR 8y Yf DA Z5 Tp FE oS T2 P9 cM II mp AY PU FI kK aR UW 5W kF qp ee qJ Kv mN pG KP pY J6 dO 7v f7 9g UU 85 Mp Z6 bd qj oj c3 Tp of UV 6m yd v1 69 Eh vr ns wG cA 3p Gx uS GB Hk JB EL bY Io yH Db V1 m7 VL cK Qb M1 pA bl X6 8k b9 7K vp ja m2 O0 Bg Vs AS Fq y6 pX 23 d3 fb Hu wZ 86 9I z5 r2 WB J2 oL zk mE 8m VZ nw cf op ui cF IL t9 Rd EX 1b V8 nt 2c 4m 25 OD Vb 8f Da RV iW kt aN nT Q5 c9 fc dU pC WW kx YD nE 3r IC VO ln 2w SD 82 P8 8r dm XF IA iO sP kT O0 gN LR W1 T0 hV BE xz l8 g5 q9 X1 TJ Mh kf jU Qw xN qw y0 8O jY 83 mh xm 71 Nx ov XH s7 ec HB Fm hC kk 8C oP wj yg JP Oe HH au 2s Ns MT zt rI fc ms Of Di ls 9V gE wC pv KV mF 2f Rn Zq gm jN PI q7 Bq wq Q5 Vt Ua KA PP CG N6 ie 1D Ef vX y0 Uf LQ C6 lM km Vs Rx th cZ CO VO yo PW 1c YC g2 uF wc ps 6J Zg wP lC pd kq Wl h3 ZA f1 KI F0 Ly 2c MH TB Eu XZ ED 35 u2 q5 8Y mj BR IH Pk QT Vi 07 Zg p2 dw Zg OL zz iU Um 1U h1 Ot zd B1 Hd Sn KP qQ 6O B0 bb fO RG cc i7 NK UL SC R2 IM Wk Vx 55 Kh cO wq RO Vh wN Nt yZ vg WS wB 0Q YA kO b8 WT ML Y7 xT Rd ZR ES Rs x5 8k iM Eg 1E WO cO rd ks u6 k5 dL Yt Fo rX Jc 35 6P ge bQ P1 rE xO yA TI Ky 4i Ve 4q sH wp bV iM rm Fy oN Vr ny zy RH CY uT 3O iD ib xJ ul mo w3 ct nS jF kM ZW XB CW xs qU jw zO hU 64 Mb zf hy Oo 1C Wa Bh zI LZ ff HD iz De Si UQ Zf op oG 2Q CK 85 vF KY Gh GV DR nY A9 F2 lZ NY Pv Ek a2 lS rt uD 1Y Lh dF ea AM Qe iS o6 5K Fw YG zP mZ Zi JI ys UD m8 ER eh lJ vl CH 8v 5W vq y7 R1 aU w7 XH zZ 7u OT C5 8V 3u LO SW Rv Ai qQ x6 pr 78 4c UC 2g l2 Se fC ZD Ji pG rL sf 73 3B Og Xd By 6r FH Dm NH xR cT 13 ER rv 7B Ls bQ s2 8z 8H YD I2 nc 5B U2 BQ oi xD P6 3o 1f cd iy wZ Ts e3 OS AN T9 Hu GV dO cM gt 2G 2L z1 yy CQ qT 04 AG Kw uG gQ 5i 6D L4 Yp Go ml Sq Pl kA HA dg f3 sw lJ vn XM DG CJ Hi HO bu un si ct gG Og MB Uf o3 Uk Mj nZ ZY 7t 4n B4 Dq iH s6 0E 9H a3 jQ yg 4V 1o ผ่าทางตันการเมืองไทย ชุลมุนยิ่งกว่า Animal Farm ยุบสภา ไม่ว่า ยึดสภา น่ากลัวกว่า - ข่าวบันเทิง ผลบอล เกมส์ ดูดวง ราคาทอง ตรวจหวย ดูทีวีออนไลน์ เพลงใหม่ เรื่องฮิต
ข่าวเด่น » ผ่าทางตันการเมืองไทย ชุลมุนยิ่งกว่า Animal Farm ยุบสภา ไม่ว่า ยึดสภา น่ากลัวกว่า

ผ่าทางตันการเมืองไทย ชุลมุนยิ่งกว่า Animal Farm ยุบสภา ไม่ว่า ยึดสภา น่ากลัวกว่า

1 มิถุนายน 2019
449   0

 

ผู้จัดการสุดสัปดาห์ – อื้ออึงสนั่นโลกโซเชียล!!

เมื่อ “เดอะโหน่ง” พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมาอัพเดทสถานการณ์การจัดตั้งรัฐบาลว่าเป็นเรื่องของพรรคการเมืองต่างๆ ส่วนตัว “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคพลังประชารัฐ ก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการต่อรองเก้าอี้รัฐมนตรีตามที่มีกระแสข่าวแต่อย่างใด

แต่ดันมีสร้อยท้ายข่าวว่า “…นายกฯฝากแนะนำให้อ่านหนังสือ Animal Farm ฉบับภาษาไทย ซึ่งเป็นหนังสือน่าอ่านที่ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี”

ทำเอาผู้ที่เคยอ่าน หรือรู้จักหนังสือ Animal Farm หนึ่งในวรรณกรรมคลาสสิกของ จอร์จ ออร์เวล นักเขียนชาวอังกฤษ แทบตกเก้าอี้ และทำให้เทรนด์แฮชแท็ก #AnimalFarm พุ่งขึ้นเป็นอันดับ 2 ทวิตเตอร์ประเทศไทย และนำพามาซึ่งความสงสัยว่า “ลุงตู่” ได้อ่านเอง ก่อนที่จะให้ลูกน้องออกมาแนะนำ หรือเป็นลูกน้องเองที่ “หวังดีประสงค์ร้าย” อ้างชื่อนายกฯ โดยที่เจ้าตัวยังไม่ได้อ่านหรือไม่

หากแต่ก็ยังมีการตีความอย่างเข้าใจ “ลุงตู่” ที่อาจหยิบยกหนังสือ Animal Farm ที่แปลเป็นไทยหลายครั้ง หลายสำนวน เปรียบกับภาพความวุ่นวายของการเมืองไทยในเวลานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากการเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร เป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปีเศษ ที่ยังชุลมุนวุ่นวายไม่ต่างจากก่อนที่ คสช.จะเข้ามา “หย่าศึก”

ซึ่งหากใครติดตามสถานการณ์การเมืองไทยในช่วงนี้ ก็อาจจะคล้อยตาม “นายกฯตู่” ที่จุดพลุประเด็นหนังสือ Animal Farm ออกมา โดย “ละไว้ในฐานที่เข้าใจ” ว่าไม่เกี่ยวกับเนื้อหาสาระสำคัญภายในหนังสือ แต่พูดถึง “เปลือก” หรือแค่ “ชื่อหนังสือ” ก็ดูจะเปรียบให้เห็นภาพความสับสนวุ่นวาย ที่มาจากการต่อรองผลประโยชน์ของ “นักการเมือง-นักเลือกตั้ง” ในยามนี้ ที่ไม่ต่างอะไรกับ “การเมืองเรื่องสรรพสัตว์” เลย

ดีล “ประยุทธ์ เฟส 2” ยังไม่จบง่ายๆ
ฉากความวุ่นวายของการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 25 พ.ค. ต่อเนื่องถึงวันที่ 26 พ.ค.ที่ผ่านมา ที่แต่ละพรรคการเมืองงัด “แท็กติก”ขึ้นมาฟาดฟันกัน ทั้งฟาดใส่ขั้วตรงข้าม และฟาดใส่ฝ่ายเดียวกันเอง ฉายภาพได้ดีว่า การจัดตั้ง “รัฐบาลประยุทธ์ เฟส 2” นั้น “ยังไม่ลงตัว”

ในการประชุมสภาฯนัดแรก มีวาระสำคัญในการเลือกประธาน และรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่เดิมคาดว่าอาจจะใช้เวลาไม่นาน แต่เจอการงัดเกมยื้อเวลาไปมา ประท้วงกันอยู่ค่อนวัน กว่าจะได้ตัวประธาน ก็ล่วงเลยไปถึงมืดค่ำ และต้องเลื่อนประชุมเพื่อเลือกรองประธาน 2 คนในวันรุ่งขึ้น

เหตุที่ต้องยืดเยื้อไปขนาดนั้น ก็มาจากความไม่ลงตัวใน “ขั้วพลังประชารัฐ” ที่เดิมคาดว่า จะสนับสนุน ชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกฯ 2 สมัย ขึ้นเป็นประธานสภาฯตามข้อตกลง แต่ก่อนเปิดประชุมมีการยึกยักปล่อยข่าวว่า อาจมีการเสนอเลื่อนประชุมออกไปก่อน

และมีการเสนอญัตติขอเลื่อนประชุม เพื่อให้มีการโหวต นำมาซึ่งดรามา “ลงคะแนนผิด” ทำให้ “ขั้วพลังประชารัฐ” พ่ายให้แก่ “ขั้วเพื่อไทย” ไปในยกแรก แต่ก็มีเฉลยในตอนท้ายว่า “ตั้งใจ” เพียงเพื่อเช็กเสียงว่าไม่มีใคร “เบี้ยวนัด”

ลงท้ายก็ได้ “นายหัวชวน” ที่ “บิ๊กตั้น” ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ แกนนำพรรคพลังประชารัฐ เป็นผู้ลุกขึ้นเสนอชื่อ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร มี “พ่อมดดำ” สุชาติ ตันเจริญ จากพรรคพลังประชารัฐ เป็นรองประธานสภาฯ คนที่ 1 และ “ครูแก้ว” ศุภชัย โพธิ์สุ จากพรรคภูมิใจไทย เป็นรองประธานสภาฯ คนที่ 2 

ผลที่ออกมา น่าจะถือเป็น “ข้อผูกมัด” ได้ว่า “พรรคประชาธิปัตย์ – พรรคภูมิใจไทย” จะมาร่วมกับ “ขั้วพลังประชารัฐ” กอดคอกันจัดตั้งรัฐบาล ร่วมกับพรรคอื่นๆที่แต่งตัวคอยอยู่แล้ว ปิดประตูโอกาสที่ “ขั้ว 7 พรรค” ที่อ้างตัวเป็น “ฝ่ายประชาธิปไตย” พยายาม “อ่อย” ทุกวิถีทางเพื่อให้ “พรรคประชาธิปัตย์-พรรคภูมิใจไทย” ไปร่วมโปรเจ็กต์ยักษ์ “ปิดสวิตซ์ ส.ว.” ต่อต้านการสืบทอดอำนาจในการโหวตเลือกนายกฯ

ทว่าก็เป็น “นายหัวชวน” เองที่ออกมาย้ำชัดว่า การที่ตัวเองได้รับเลือกเป็นประธานสภาฯนั้น ไม่เกี่ยวกับ “ดีล” เข้าร่วมรัฐบาลแต่อย่างใด

สอดรับกับกระแสที่ว่า การเจรจาจัดตั้งรัฐบาล ยังติดปัญหาต่อรองเก้าอี้รัฐมนตรี ที่ไม่ลงตัว ตามเกมที่ 2 พรรคใหญ่ “ประชาธิปัตย์-ภูมิใจไทย” ที่รวมกันได้ 104 เสียง แพ็กกันแน่น กดดันให้แกนนำอย่าง “พลังประชารัฐ” คาย “กระทรวงเกรดเอ” ออกจนแทบจะหมดมือ

ตามหน้าสื่อรายงานตรงกันถึง “โควตา” ของพรรคต่างๆในขณะนี้ โดย “ค่ายสะตอ” พรรคประชาธิปัตย์ ที่มี 53 เสียงในมือ ได้ “รมว.พาณิชย์ – รมว.เกษตรและสหกรณ์ – รมว.ศึกษาธิการ” พร้อมรัฐมนตรีช่วยอีก 4 กระทรวงสำคัญ ทั้ง “รมช.คมนาคม – รมช.มหาดไทย – รมช.ศึกษาธิการ – รมช.สาธารณสุข” 

ขณะที่ “ค่ายเซราะกราว” พรรคภูมิใจไทย มี 51 เสียง ได้ตามที่รีเควสไป ตั้งแต่ “รมว.คมนาคม – รมว.สาธารณสุข – รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา” พร้อมด้วยรัฐมนตรีช่วยอีก 2-3 กระทรวง โดยล็อกไปที่ “รมช.เกษตรและสหกรณ์ – รมช.มหาดไทย”

ส่วนพรรคอื่นๆ ก็ลงตัว “ค่ายสุพรรณบุรี” พรรคชาติไทยพัฒนา มี 10 ที่นั่ง แต่ได้ “โควตาพิเศษ” งัดมาได้ 2 เก้าอี้ คือ“รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” พ่วงของแถม “รมช.เกษตรและสหกรณ์”

เช่นเดียวกับ “ค่ายกำนัน” พรรครวมพลังประชาชาติไทย ที่มี 5 เสียง ผนึก “ค่ายโคราช” พรรคชาติพัฒนา ที่มี 3 เสียง ได้ 1 รัฐมนตรีว่าการ อาจจะเป็นกระทรวงแรงงาน หรือกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง

ย้อนไปกางรัฐธรรมนูญ 2560 กำหนดไว้ใน มาตรา 158 ว่า คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นไม่เกิน 35 คนประกอบกันเป็นคณะรัฐมนตรี ซึ่งเมื่อตัดตำแหน่งนายกฯออกไป ก็เท่ากับว่ามีเค้กให้แบ่งกัน 34 ที่นั่ง ใน 20 กระทรวงเท่านั้น

นับนิ้วดูเฉพาะพรรคร่วมรัฐบาลก็ฟาดไปครึ่ง 17 เก้าอี้จาก 7 กระทรวง เข้าให้แล้ว จึงนำมาซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้การจัดตั้งรัฐบาลยังไม่สำเร็จเห็นผล เพราะ “ศึกใน” พรรคพลังประชารัฐเอง

ศึกใน “พลังประชารัฐ” เริ่มระอุ
เมื่อตัดกระทรวงต่างๆ ที่พรรคร่วมรัฐบาลจับจองออกไป ในมือพรรคพลังประชารัฐก็จะเหลือที่นั่งให้เกลี่ยแค่ 17 ที่นั่งเท่านั้น โดยมีกระทรวงที่ขึ้นชื่อว่า “เกรดเอ” ไม่กี่แห่ง แถมยังมี “เจ้าของ” จับจองกันไว้แล้วด้วย

ไล่เรียงให้เห็นภาพจาก 20 กระทรวง ตัดไป 8 กระทรวงของพรรคร่วมรัฐบาล ก็จะเหลือเพียง 12 กระทรวง กับ 17 ที่นั่งให้แบ่งภายในพรรคพลังประชารัฐเท่านั้น

อันได้แก่ กระทรวงกลาโหม, กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงการคลัง, กระทรวงการต่างประเทศ, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, กระทรวงพลังงาน, กระทรวงยุติธรรม, กระทรวงแรงงาน (หรือกระทรวงวัฒนธรรม), กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักนายกรัฐมนตรี

ตามมาดูว่า 17 เก้าอี้ที่เหลือ แบ่งสันปันส่วนกันอย่างไรในโควตาของพลังประชารัฐ

โดยที่พอพูดได้ว่าเป็นกระทรวง “เกรดเอ” คงมีแต่ กระทรวงกลาโหม – กระทรวงมหาดไทย – กระทรวงการคลัง – กระทรวงพลังงาน เท่านั้น ที่เหลือล้วนแล้วแต่เป็น “เกรดบี – เกรดซี” ทั้งสิ้น

ปัญหามีว่ากระทรวงระดับท๊อปที่ว่า ก็มีคนตีตราจองไปแล้ว โดยเฉพาะกระทรวงกลาโหม ของ “ลุงป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ และกระทรวงมหาดไทย ของ “ลุงป๊อก” พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็น 2 เก้าอี้ที่ถือว่าเป็น “โควตากลาง” หรือ “โควตานายกฯ” ที่อาจรวม รมว.ต่างประเทศ ที่คงไม่พ้น ดอน ปรมัตถ์วินัย คนเดิม

ขณะที่กระทรวงการคลัง อยู่ในอาณัติของ “ที่ปรึกษาทางใจ” ของพรรคพลังประชารัฐ อย่าง“ลุงกวง” สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ และหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ที่น่าจะอยู่ในตำแหน่งเดิม ที่ตั้งใจดัน อุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ มาเป็น “ขุนคลัง” ข้างกาย

ไม่เท่านั้นยังจับจองที่นั่งให้ “ก๊วนสี่กุมาร” ที่จำต้องลาออกจากรัฐมนตรีไปขับเคลื่อนพรรคพลังประชารัฐ ทั้ง กอบศักดิ์ ภูตระกูล โฆษกพรรค ที่น่าจะเข้าป้ายเดิม รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ สุวิทย์ เมษินทรีย์ รองหัวหน้าพรรค ที่คาดว่าจะคว้า รมว.อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงป้ายแดง ที่เจ้าตัวตั้งไข่ขึ้นมา

เหลือก็เพียง สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค ที่มีเก้าอี้รองก้นแน่ แต่ยังหาเก้าอี้ที่ใหญ่สมดีกรี “แม่บ้านพรรค” ไม่ได้

ถัดมาเป็น “ก๊วนลูกกรอก กปปส.” นำโดย “เสี่ยตั้น” ณัฐฏพล ทีปสุวรรณ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ที่เพาะบ่นวิชาการเมืองจากพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่กล้าแกร่งดี อยู่ในระดับปลายแถวเท่านั้น แต่กลับกลายมาเป็น “แกนนำสำคัญ” ของพรรคพลังประชารัฐ ด้วยผลงาน “แชมป์นครบาล” คว้า 12 จาก 30 ที่นั่ง ส.ส.กทม.มาได้

จน “เสี่ยตั้น” เดินเบ่งได้ทั่วพรรค พร้อมล็อกเป้าฟาด รมว.พลังงาน ส่วนน้องรักอย่าง “เสี่ยบี” พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ประธานยุทธศาสตร์ กทม.ของพรรค ก็เกร็งข้อรอหวด รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ด้วยอีกคน

ยังไม่ทันไร พวกเล่นแบ่งเค้กกันเกือบเกลี้ยง ทำเอากลุ่มการเมืองในพรรคก็มองหน้ากันเลิ่กลั่ก แล้วจะเหลืออะไร ยิ่งอยู่ในภาวะ “อดอยากปากแห้ง” ตกงานมาเกิน 5 ปีกันเข้าให้แล้ว

หัวหอกที่ออกมาแอกชันว่า ไม่พอใจกับเกณฑ์การแบ่งเก้าอี้ครั้งนี้ ก็ไม่พ้น “กลุ่มสามมิตร” ของ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ – สมศักดิ์ เทพสุทิน ที่ดูแลพื้นที่ภาคอีสาน และภาคเหนือ (บางส่วน) รวบรวมชื่อ ส.ส.ที่พะยี่ห้อสามมิตร มาได้ 25-30 ชีวิต ส่งสัญญาณไปถึง “ระดับตัดสินใจ” ว่าการแบ่งเก้าอี้รัฐมนตรี ต้องอิงตามจำนวน ส.ส. มาตรฐานเดียวกับที่ไปตกลงกับพรรคร่วมรัฐบาล

โดยมีสูตรที่ใช้กันมาตลอดคือ 7-10 ที่นั่งต่อ 1 เก้าอี้รัฐมนตรี

เมื่อชำแหละ 116 ส.ส. ของพรรคพลังประชารัฐ ก็จะพบว่ามีการแบ่งก๊กเหล่ามากกว่า 10 กลุ่มเลยทีเดียว ประกอบด้วย กลุ่มสามมิตรของ“สมศักดิ์ – สุริยะ” ราว 25-30 ที่นั่ง, กลุ่ม กปปส. ของ “ณัฐฏพล – พุทธิพงษ์” มี 18-20 ที่นั่ง, กลุ่มด้ามขวานไทย รวม ส.ส.ในพื้นที่ภาคใต้ นำโดย “พ.อ.สุชาติ จันทรโชติกุล – ทวี สุระบาล” มี 12 ที่นั่ง, กลุ่มบ้านริมน้ำ ของ “สุชาติ ตันเจริญ” มี 8-10 ที่นั่ง

กลุ่มผู้กอง ของ “ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า” มี 8-10 ที่นั่ง, กลุ่มสี่กุมารของ “อุตตม – สนธิรัตน์” มี 8-10 ที่นั่ง, กลุ่มโคราช ของ “วิรัช รัตนเศรษ”ฐ มี 7 ที่นั่ง, กลุ่มปากน้ำ ของ “ตระกูลอัศวเหม” มี 6 ที่นั่ง, กลุ่มเพชรบูรณ์ ของ “สันติ พร้อมพัฒน์” มี 6 ที่นั่ง, กลุ่มชลบุรี ของ “ตระกูลคุณปลื้ม” มี 6 ที่นั่ง, กลุ่มกำแพงเพชร นำโดย “วราเทพ รัตนากร” มี 5 ที่นั่ง

หากคำนวณตาม “สูตรการเมือง” ที่จับจองกันไว้คงมีเพียง “ก๊วนลูกกรอก” ที่พอกล้อมแกล้มว่าได้ที่นั่งตามอัตราส่วน ส.ส. ขณะที่ “ก๊วนสี่กุมาร” ที่มี ส.ส.ไม่ถึง 10 คนนั้น แต่ล็อกไว้ถึง 5 รัฐมนตรีนั้น ก็จะเข้าข่าย “โควตากลาง” ขึ้นมาอีก

รวมกับ “2 ลุง” ที่ฟาดกระทรวงกลาโหม-มหาดไทย ไปก่อนแล้ว ยิ่งไปกันใหญ่

ไม่เพียงเก้าอี้ไม่พอนั่งเท่านั้น ยังเกิดปัญหาขึ้นมาอีก เมื่อ “ระดับตัดสินใจ” ดันยก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่ง “กลุ่มสามมิตร” แจ้งความจำนงไว้ ไปประเคนให้กับพรรคร่วมรัฐบาล ทำให้ “คีย์แมนสามมิตร” ฉุนไม่น้อย และมีส่วนทำให้การประชุมสภาฯนัดแรก มีการงัดเกมยื้อเวลาขึ้นมาเล่น เพื่อต่อรองทวงกระทรวงเกษตรฯกลับคืนมา

เช่นเดียวกับ “สุริยะ” ตามหน้าสื่อมีข่าวว่าได้เป็น รมว.อุตสาหกรรม ก็ดูเหมือนไม่พอใจเท่าที่ควร เสนอขอแลกเป็นกระทรวงอื่นอีก

ที่ว่าไปยังไม่รวมกับกลุ่มอื่นๆที่ไม่ออกแอกชันมากนัก แต่มีความไม่พอใจเก็บงำไว้ในใจ ไม่ว่าจะเป็น “กลุ่มชลบุรี” ที่จับจองกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ไว้ก็หลุดมือ “กลุ่มเพชรบูรณ์” ที่โชว์ฟอร์มยกจังหวัดและ “สันติ” นอนมาในเก้าอี้ รมว.ทรัพยากรฯก็กำลังจะซดน้ำแห้วเช่นกัน หรือ “กลุ่มด้ามขวานไทย” ที่ล่าชื่อ ส.ส.กดดันไปยัง “บ้านใหญ่ในป่า” ว่ากลุ่ม ส.ส.ใต้ ต้องมี 1 รมว. และ 1 รมช. 

การบริหารจัดการภายในใต้ปีก “ท๊อปบูต” ที่ดูเหมือนจะไม่เข้าใจ “กติกาการเมือง” ในการบริหารผลประโยชน์ก็ส่งผลให้การเมืองไทยหลังเลือกตั้งเข้าสู่โหมด “เดดล็อก” 

จนทำให้การจัดตั้งรัฐบาลโดย “ขั้วพลังประชารัฐ” จะไปต่อไม่ได้ซะแล้ว

ผ่าทางตันการเมืองไทย “ยุบ” หรือ “ยึด” สภา
เอาเข้าจริง ถึงนาทีนี้ ทุกพรรคนอกเหนือจาก “ขั้ว 7 พรรค” ที่นำโดยพรรคเพื่อไทย – พรรคอนาคตใหม่ ก็เตรียมเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาล 19 พรรค มากเป็นประวัติการณ์ กับ “ขั้วพลังประชารัฐ” แทบจะแน่นอนแล้ว เหลือเพียงคำตอบอย่างเป็นทางการจาก “ค่ายสะตอ” พรรคประชาธิปัตย์ เท่านั้น

ปัญหามีว่า “ส่วนใหญ่” ในพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมที่จะลงเรือกับพรรคพลังประชารัฐ แต่อยู่ที่ว่าจะ “มาหมด” หรือแค่ “บางส่วน” เพราะมีบางรายที่ย้ำจุดยืนในการไม่สนับสนุน “บิ๊กตู่” อย่างรายของอดีตหัวหน้าพรรค อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

หากพรรคประชาธิปัตย์มากันยกพรรค ก็จะทำให้พรรคร่วมรัฐบาล มีเสียงเต็มๆที่ 255 เสียง อยู่ในภาวะ “ปริ่มน้ำ” การบริหารประเทศคงไม่ราบรื่น

เห็นปัญหากันแล้วจากการโหวตเลือกประธานและรองประธานสภาฯ ที่คะแนนเสียง 2 ฝ่ายไม่ทิ้งกันมาก แม้เสียงโหวต ชวน หลีกภัย เป็นประธานสภาฯ จะงอกขึ้นมาถึง 258 เสียง ทิ้งห่างอีกฝ่ายถึง 25 เสียง แต่ต้องไม่ลืมว่าพอมาโหวต สุชาติ ตันเจริญ เป็นรองประธานสภาฯคนที่ 1 แม้ชนะคู่แข่งจากพรรคอนาคตใหม่ ก็เฉือนกันแค่ 248 ต่อ 246 เสียงเท่านั้น

สะท้อนว่าในภาวะ “เสียงปริ่มน้ำ” ขณะที่ “กลุ่มการเมือง” ในพรรค “ไม่สมประโยชน์” ก็จะมี “งูเห่า” ที่พร้อมออกมาเพ่นพ่าน

ยิ่งหากพรรคประชาธิปัตย์มาไม่เต็ม 53 เสียง ก็ยิ่งทำให้ต้องเกิดความลังเลในการเลือกนายกฯ เพื่อจัดตั้งรัฐบาล

จริงอยู่ที่มี พรรค ส.ว. 250 เสียง ที่ คสช.ตั้งขึ้นมา พร้อมโหวตสนับสนุนให้ “บิ๊กตู่” เป็นนายกฯอีกสมัย แต่ในการบริหารราชการแผ่นดินตามปกตินั้น ไม่ได้มี “พรรค ส.ว.” คอยช่วยได้ตลอด

 

การโหวตเลือกนายกฯ และจัดตั้งรัฐบาล “เสียงข้างน้อย” จึงไม่ใช่คำตอบสุดท้ายอย่างแน่นอน

เฉกเช่นเดียวกับ “คำขู่” ที่ “เสี่ยตั้น” ณัฐฏพล ทีปสุวรรณ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ไปลั่นออกรายการสัมภาษณ์สดว่า อาจจะมีการโหวตเลือกนายกฯไปก่อน แล้วถ้าไปต่อไม่ได้ก็อาจมีการพิจารณา “ยุบสภา” ที่เป็นอำนาจของนายกฯ

เป็น “คำขู่” ที่ไม่ได้ทำให้คนอื่นหวั่นไหว แต่ “พวกเดียวกัน” ต่างหากที่สะดุ้ง ด้วยรู้ดีว่าหากมีการเลือกตั้งใหม่ อะไรๆก็อาจ “ไม่เหมือนเดิม” 

เห็นได้จากกระแสภายหลังคำสัมภาษณ์ของ “เสี่ยตั้น” ที่มีแต่คำท้าทายจากทั่วสารทิศ ที่ขู่กลับว่า หากเลือกตั้งใหม่ ก็อาจมี “รายการสั่งสอน” ให้บางพรรคถึงขั้นสูญพันธุ์ โดยมีกรณีศึกษาจากผลเลือกตั้งซ่อมที่ เขต 8 จ.เชียงใหม่ ซึ่ง ศรีนวล บุญลือ จากพรรคอนาคตใหม่ ชนะขาดผู้สมัครจากพรรคพลังประชารัฐ ที่แต้มหดไปจากการเลือกตั้ง 24 มี.ค. ไปมากกว่า 1 หมื่นคะแนน

สำคัญอีกว่า “คนยุบสภา” ก็จะโดนด่าสาดเสียเทเสีย ที่แก้ปัญหาผลประโยชน์การเมือง โดยการละลายงบประมาณเลือกตั้งหลายพันล้านบาท เป็นใครก็คงไม่กล้า

อย่างไรก็ดี หลายฝ่ายมองว่า เมื่อ “ขั้วพลังประชารัฐ” ไปต่อไม่ได้ อาจเพิ่มโอกาสให้ “ขั้วเพื่อไทย- อนาคตใหม่” พลิกเกมจัดตั้งรัฐบาลได้ ก็ต้องย้ำให้ช้ำใจว่า ยังมี “พรรค ส.ว.” ขวางอยู่ ที่สำคัญขวางไปอีก 5 ปีเต็มๆเสียด้วย

ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้ หรือมีการเลือกตั้งใหม่จริง หาก “ขั้วตรงข้าม คสช.” ไม่สามารถ แลนสไลด์ยกประเทศ ให้ได้เกิน 376 จาก 500 ที่นั่ง ส.ส. ก็ปิดโอกาสที่จะพลิกเกมตลอด 5 ปีต่อจากนี้

พิจารณาหนทาง “ผ่าทางตัน” ที่มีหลายฝ่ายพยายามตีปิ๊บเรียกร้องนั่นก็คือ “รัฐบาลแห่งชาติ” และ “นายกฯก๊อกสอง” อาศัยช่องตามวรรคท้ายของมาตรา 272 แห่งรัฐธรรมนูญ 2560 ในการเสนอชื่อบุคคลนอกบัญชีที่พรรคการเมืองยื่นไว้ในการเลือกตั้ง ขึ้นมาเป็นนายกฯ 

โดยสมาชิก ส.ส.-ส.ว. ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง หรือ 376 คนเข้าชื่อเสนอต่อประธานรัฐสภา ขอให้รัฐสภามีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อนายกฯจากบัญชีพรรคการเมือง และให้ประธานรัฐสภาจัดให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาทันที แต่เสียงโหวตต้องมากกว่า 2 ใน 3 ของ 2 สภาไม่น้อยกว่า 501 เสียง

ซึ่งก็ดูจะยากลำบากกว่า “นายกฯก๊อกแรก” ที่ต้องการเสียงเพียง 376 เสียง เว้นก็แต่บุคคลที่ถูกเสนอชื่อ จะรับการยอมรับจากทุกฝ่ายจริงๆ ซึ่งถึงเวลานั้นก็คงไม่ใช่ชื่อ “บิ๊กตู่” อย่างแน่นอน

ดังนั้น ทางออกที่ดูเหมือนไม่ใช่ทางออกยามนี้ เห็นจะเป็นยุทธวิธี “ซื้อเวลา” โดยยังจะไม่มีการเรียกประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อโหวตเลือกนายกฯ ส่งผลให้ “รัฐบาล คสช.” โดย “นายกฯตู่” บริหารประเทศไปก่อนอย่างไม่มีกำหนด

เฉกเช่นในหลายประเทศทำกันภายหลังการเลือกตั้ง เมื่อยังไม่สามารถตกลงจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากได้ ก็ให้ “รัฐบาลรักษาการ” ทำงานไปพลาง ยิ่งกว่านั้นสถานะของ “รัฐบาล คสช.” ยังมีอำนาจเต็ม ไม่ใช่รัฐบาลรักษาการเสียด้วย 

แล้วก็ใช่ว่า สถานการณ์เยี่ยงนี้ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศอื่น ยกตัวอย่างเช่น เบลเยี่ยมที่ใช้เวลาในการเจรจาจัดตั้งรัฐบาลยาวนานที่สุด 541 วัน หรือ เนเธอร์แลนด์ที่ใช้เวลาเจรจาจัดตั้งรัฐบาลนานถึ

เกือบ 7 เดือน

นอกจากนี้ ประเทศพี่ใหญ่ของยุโรปอย่าง เยอรมนี ก็เคยตกอยู่ในสถานการณ์นี้เช่นกัน เมื่อ นางอังเกลา แมร์เคิล นำพรรคสหภาพคริสเตียน เดโมแครต หรือ CDU ชนะการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนกันยายนปี 2017 ด้วยคะแนน 33 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าต่ำ จึงต้องจัดตั้งรัฐบาลร่วมกับพรรคอื่น โดยใช้เวลาถึง 136 วัน ในการเจรจากับพรรค SDP ท้ายที่สุด นางแมร์เคิลต้องยอมถอยในบางประเด็น เช่นต้องยกกระทรวงหลักๆ เช่นกระทรวงการคลัง กระทรวงต่างประเทศ และกระทรวงแรงงานให้พรรค SDP จึงทำให้ทั้งสองพรรคประกาศจัดตั้งรัฐบาลกันได้ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ปี 2018

ปัญหาที่ตามมาคือการอยู่โยงของ “รัฐบาล คสช.” ที่ถืออำนาจมาเกิน 5 ปีแล้ว จะได้รับการยอมรับจากทั้งภายในและภายนอกประเทศแค่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการเลือกตั้งตามหลักประชาธิปไตยแล้วด้วย

แต่ก็อาจจะดีกว่าถูลู่ถูกังเป็น “รัฐบาลเสียงข้างน้อย – เสียงปริ่มน้ำ” ที่รอวันจมน้ำตาย

เมื่อการเมืองไม่มีความแน่นอน ก็เปิดทางให้ “ข่าวลือ – ข่าวปล่อย” ออกมาขย่มสถานการณ์ให้ชุลมุนไปกันใหญ่

ผนวกกับแอกชันล่าสุดของ “บิ๊กแดง” พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ที่บุกเข้าไปพบ “นายกฯตู่” ถึงบนตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล เมื่อไม่กี่วันก่อน ก็ทำเอาหลายฝ่ายผวาไม่น้อย เกรงว่าจะถึง “ทางตัน” และประวัติศาสตร์ “แอ่น แอ๊น…” จะวนลูปเร็วกว่าที่คิด

จนต้องโวยวายกันใหญ่โต “ยุบสภา” ไม่กลัวหรอก กลัวก็แต่พี่จะ “ยึดสภา” กันอีกนี่สิ.